วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562




เกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละคืนที่เรานอนหลับ ร่างกายเรามีปุ่ม Shutdown เหมือนคอมพิวเตอร์หรือเปล่า ถ้าไม่มีแล้วเราเปลี่ยนไปอยู่ในภาวะหลับได้ยังไง เรามาทำความเข้าใจวงจรของการนอนหลับ ประโยชน์ของการนอนและความฝันกันดีกว่า sbobet แจก เครดิต ฟรี


บันทึกการอ่าน ข้อคิดดีๆ
รู้จักปุ่ม Shutdown หรือสวิตซ์ที่ทำให้เราหลับ
รู้จักระยะการนอนทั้ง 2 แบบ REM และ SW (หรือ non-REM)
ความฝันช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ ทำให้เราเข้าใจอารมณ์และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนกลางวันได้ดีขึ้น
เราฝันเป็นประจำ บางครั้งเราก็จำไม่ได้ ความฝันที่ชัดเจน เรามักจะจำได้ง่าย
การนอนหลับ
เราใช้เวลาไปกับการนอนหลับถึง 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะเรียนรู้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาที่เราหลับ

ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่เรานอนหลับสนิท มันทำให้เรารู้สึกดี แต่รู้ไหมว่าทำไมเราจึงรู้สึกดีที่ได้นอนหลับสนิท การนอนหลับมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจเรา เราต่างก็เคยเจอ เวลาที่เรานอนไม่หลับ หลับไม่ลง ฝันร้าย มันทำให้เราเหนื่อย ทำให้รู้สึกไม่ดี การได้นอนหลับลึก หลับสนิท เป็นเรื่องที่สำคัญ มันทำให้เราผ่อนคลาย คนที่นอนหลับไม่สนิท หลับไม่เต็มที่ ไม่เคยหลับลึก คนที่นอนหลับไม่เพียงพอ มักจะหงุดหงิดง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่ทำงานกะกลางคืน และนอนตอนกลางวัน มักจะไม่ได้หลับลึก ผลที่เกิดขึ้นคือจะมีความเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

วิทยาศาสตร์ด้าน Neuroscience ทำให้เรารู้ว่า การนอนหลับไม่ใช่แค่ช่วงเวลาที่เราได้พักและฟื้นฟูร่างกาย แต่มันยังเติมพลังใจให้เราด้วย ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น ทำให้เรามีภูมิต้านทานต่อโรคซึมเศร้าและช่วยป้องกันไม่ให้เราอ้วนได้ด้วย

สวิตซ์ที่ทำให้หลับ
ในปี 2001 นักวิจัยเรื่องการนอนหลับจาก Harvard University ได้ค้นพบกลุ่มของ Neuron ในสมองส่วน Hypothalamus ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึม ควบคุมความหิวและอุณหภูมิในร่างกาย และเรียกมันว่าสวิตซ์ที่ทำให้เราหลับ maxbet

ร่างกายมนุษย์เรามีกระบวนการทางเคมีที่มีผลต่อการนอนหลับ ทำงานแยกขาดจากกันในช่วงกลางวันที่เราตื่นและกลางคืนที่เราหลับ โดยมันจะปรับให้เรานอนน้อยลงหรือนอนมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดความสมดุล ในตอนกลางวันปริมาณสารเคมี Adenosine Triphosphate (ATP) ในร่างกายจะค่อยๆ ลดน้อยลง ทำให้เรารู้สึกเพลียและง่วงนอน ส่วนในตอนกลางคืนระหว่างที่เราหลับ ก็จะมีสารเคมีอื่นๆ ที่ค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น จนถีงระดับที่ทำให้เราตื่นนอนได้

ในภาวะที่ Neuron เริ่มหยุดการทำงาน ช่วงเวลาเดียวกันกับที่เราเริ่มหลับ เราจะเรียกกระบวนการที่เกิดในช่วงนั้นว่า Hypnagonia ส่วนการเปลี่ยนสภาวะตอนที่กำลังจะตื่นนอน ก็จะมีชื่อเรียกว่า Hypnopompia

ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนสภาวะ เรามักจะเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนกลางวัน บางครั้งเราจะมองเห็นรูปร่างต่างๆ ในความฝัน หรือบางครั้งเราจะรู้สึกว่ากำลังลอย หรือกำลังตกลงไปข้างล่าง

อย่างที่ Jean-Luc Nancy นักปรัชญาฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า ความฝันเป็นเวลาที่ทำให้เราได้ค้นพบ ได้สัมผัสกับโลก ทำให้เรามีโอกาสที่จะเข้าถึงมิติอื่นๆ หรือความที่อาจจะเป็นจริงทั้งหลาย

Salvador Dalí ศิลปินชาวสเปน ใช้ประโยชน์และได้แรงบันดาลใจจากความฝัน สำหรับสร้างผลงานภาพวาด

Thomas Edison เองก็เคยใช้เทคนิคเดียวกันนี้เพื่อแก้ปัญหา โดยการนอนพักในตอนกลางวัน และกำลูกเหล็กไว้ในมือ หลังจากที่เค้าเริ่มหลับไป มือจะผ่อนคลายทำให้ลูกเหล็กหลุดและตก และปลุกให้เค้าตื่นขึ้นมา เค้าคิดว่าจะตื่นมาพร้อมกับวิธีแก้ปัญหา หรือไอเดียใหม่ๆ

ระยะการนอน REM และ SW (หรือ non-REM)
การนอนหลับมีอยู่ 2 ระยะคือ Rapid Eye Movement (REM) กับ Slow-wave (SW) หรือ Non-rapid Eye Movement (non-REM) ซึ่งเกิดขึ้นสลับกันไปมา 5-6 รอบในแต่ละคืน โดยเฉลี่ยรอบละ 90 นาที

เราจำแนกการนอนหลับทั้งสองระยะตามลักษณะของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและความสามารถในการตื่นขึ้นมา และลักษณะเหล่านี้ทำให้เราแยกการนอนทั้งสองแบบออกจากอาการโคมาได้

การนอนหลับแบบ REM ได้ชื่อมาจากการที่ตาเคลื่อนที่ไปมาในระหว่างที่เราหลับ เป็นการนอนที่ตื่นตัวที่สุด ก็เลยทำให้สมองร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องอาศัยการนอนในระยะอื่นเพื่อช่วยทำให้สมองเย็นลง ในช่วงการนอนแบบ REM เรามักจะฝันแบบเหนือธรรมชาติ และเรามักจะจำความฝันนั้นได้

นอกจากนั้นเรายังใช้ช่วงเวลาการนอนหลับแบบ REM เพื่อเรียนรู้ Antti Revonsuo และ Patrick McNamara นักวิทยาศาสตร์ด้าน Neuroscience ได้ให้มุมมองต่อการหลับเอาไว้ โดย Revonsuo มองว่าการที่เราฝันถึงซึนามิ การหนีตาย เป็นวิธีที่เราเรียนรู้และฝึกซ้อมเพื่อเอาตัวรอด ส่วน McNamara ก็มองว่าความฝันในช่วง REM มักจะเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

ความฝันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการหลับ ที่เราหลับ แต่ฝันจะชัดเจนมากในระยะ REM เพราะอารมณ์ของเราจะเข้ามาเกี่ยวข้องในระยะนี้ ในช่วงนี้สมองในส่วน Prefrontal Cortex เกือบจะหยุดการทำงานทั้งหมด ดังนั้น ความฝันของเราจึงมักจะแปลกประหลาด และมักจะไม่เป็นเหตุเป็นผล

การหลับแบบ REM ที่เกิดในช่วงแรกๆ จะสั้นประมาณ 10 นาที และความฝันของเรามักจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ในตอนนั้น แต่ REM ในครั้งหลังๆ จะเกิดนานถึงชั่วโมง และความฝันที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับความทรงจำระยะยาว

สมองส่วน Cortex ที่ยังทำงานในช่วงที่เราหลับ จะเชื่อมต่อกับ Amygdala ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Limbic ที่ควบคุมสัญชาติญาณการสู้หรือหนี โชคดีที่ในช่วง REM ร่างกายเราไม่สามารถขยับได้ ทำให้เราไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราฝัน

ส่วนการนอนหลับแบบ SW เป็นช่วงที่เราหลับลึก คลื่นสมองช้าลงและสูงขึ้น สมองทำงานสอดคล้องเป็นอย่างดี และยากที่จะปลุกให้ตื่น การนอนในช่วง SW เป็นเวลาที่เราหลับและร่างกายได้ฟื้นฟู และเป็นช่วงที่ร่างกายเราเผาผลาญไขมัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่นอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้อ้วนได้

ในช่วงการหลับแบบ SW เราจะฝันแบบไม่ปะติดปะต่อและไม่ค่อยมีความหมาย

ในคนที่วัย 50 ขึ้นไป ช่วงเวลาการนอนหลับแบบ SW จะลดน้อยลง มีคนกลุ่มนี้มากถึง 1 ใน 4 ที่แทบจะไม่ได้นอนหลับแบบ SW เลย นี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการแก่ตัวลง เช่น ทำให้ความแข็งแรงของกล้ามนื้อลดลง ไขมันในร่างกายมีมากขึ้น ผมบาง อ้วนขึ้น เหนื่อยล้า ความจำไม่ดีและระบบภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลง ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับช่วง SW ช่วยให้เราเก็บบันทึกความทรงจำ โดยการทบทวนข้อมูลที่เราเรียนรู้ในแต่ละวัน ในขณะที่การนอนในช่วง REM จะประมวลผลความจำเหล่านั้นรวมเข้ากับข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้ว นักวิจัยเรียกมันว่า การรวมความทรงจำ ถ้าความทรงจำ หรือ Neuron ที่เราไม่ค่อยได้ใช้บ่อยๆ การเชื่อมต่อกันของ Neuron ก็จะลดน้อยลง และถ้าสมองของเราดึงความทรงจำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นกลับมา มันก็จะเริ่มที่จะสร้างความทรงจำใหม่อีกครั้ง และการเชื่อมต่อกันของ Neuron ก็จะมากขึ้น  นั่นคือในช่วงเวลาที่เราหลับ ความทรงจำระยะสั้นจะย้ายไปเก็บอยู่ในความทรงจำระยะยาว

ขั้นตอนการสร้างความทรงจำนี้ ค้นพบโดย Matthew Walker โดยการทดลองกับหนู เค้าฝึกให้หนูวิ่งหาทางออกจากทางวกวน และบันทึกผลคลื่นสมองในระหว่างที่หนูนอน ซึ่งเป็นช่วงที่หนูเรียนรู้ ผลการสแกนสมองของหนูในตอนที่วิ่งเปรียบเทียบกับในขณะที่นอนหลับ พบว่ามีคลื่นสมองที่ตรงกัน และเป็นกลุ่ม Neural Network ที่ทำงานส่งสัญญาณแบบเดียวกันกับตอนที่หนูวิ่ง ตอนนั้นหนูอาจจะฝันว่ากำลังวิ่งหาทางออกอยู่ก็เป็นไปได้

นอกจากนั้นเค้ายังพบว่า หลังจากที่หนูได้นอนหลับพักผ่อน มันก็จะวิ่งหาทางออกได้ดีขึ้น สมองของมนุษย์เราก็ทำงานคล้ายกับหนู เราจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นหลังจากที่ได้นอนหลับ เราตื่นขึ้นมาแล้วสามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น และนั่นจึงเป็นที่มาของคำแนะนำ ที่ให้นักเรียนงีบ หลังจากจบชั่วโมงเรียน เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

ความฝัน อารมณ์
การนอนหลับยังช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้น โดยการทดลองของ Rosalind Cartwright คนเขียนหนังสือเรื่อง The Twenty-Four Hour Mind เค้าทดลองและบันทึกความฝันของ กลุ่มคนที่ผ่านการหย่าร้างมา โดยที่ครึ่งหนึ่งของคนเหล่านั้นมีอาการซึมเศร้า สิ่งที่พบคือในกลุ่มคนที่จำความฝันได้มักจะเป็นกลุ่มที่ฝันเป็นระยะเวลานานและเป็นฝันที่ซับซ้อนมากกว่า ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์ กลุ่มคนเหล่านี้สามารถฟื้นฟูและมีอาการดีขึ้นมากกว่ากลุ่มคนที่ฝันเป็นระยะสั้นๆ หรือจำความฝันไม่ได้เลย

ความฝันช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ที่ค้าง อารมณ์ที่เราไม่เข้าใจ ไม่รู้จะทำยังไงกับมัน ความฝันทำให้เราเห็นมุมมองใหม่ๆ และทำให้เราเข้าใจอารมณ์และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนกลางวันได้ดีขึ้น

เราจะนำอารมณ์ที่ค้างนั้นเก็บไปคิดไปฝันด้วย เวลาที่ใจเรายังยึดติดอยู่กับอารมณ์นั้น ใจเรายังพยายามแก้ไข มันช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์นั้น เช่น เวลาเราเครียด จากการที่คนอื่นตำหนิเรา พูดจาไม่ดีกับเรา หรือมีคนมาพูดดูถูกเรา วิจารณ์รูปร่างที่อ้วน อารมณ์พวกนั้นมันจะค่อยๆ ลดน้อยลงหลังจากที่เราได้นอนหลับ

ความฝันนำเอาประสบการณ์และปัญหาทางอารณ์ที่เกิดขึ้นตอนกลางวัน ออกมาฉายซ้ำอีกครั้ง ช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ ปรับอารมณ์ของเราในตอนหลับ บางคนพยายามค้นหาความหมายของความฝัน ค้นหารูปแบบ เชื่อมโยงไปกับอนาคต ความหมายลึกๆ แต่ความฝันเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เราจัดการกับเรื่องราวชีวิตที่เกิดขั้นในตอนกลางวันของเรา

ตอนที่เราฝัน เราเรียบเรียง ประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขี้นทั้งวัน เชื่อมโยงสิ่งที่เหมือน ที่คล้ายกันกับประสบการณ์ที่เก่ากว่า และกรองให้เหลือแต่ข้อมูลที่สำคัญที่ควรจะเก็บไว้ในความทรงจำ ข้อมูลเหล่านี้นี่เองที่มันตรงกับประสบการณ์ทางอารมณ์ในอดีต ทำให้เราฝันเห็นภาพ ซึ่งมันก็คือภาพความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลใหม่นั่นเอง

เช่น ถ้าเราทะเลาะกับเพื่อนในตอนกลางวัน เราอาจจะเก็บไปฝันในตอนกลางคืน และเราจะย้อนกลับไปเจอประสบการณ์เก่าในความฝัน ค้นหาประสบการณ์ที่เก่ากว่าที่ใกล้เคียงกัน เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเดียวกัน  และมันจะช่วยให้เราเข้าใจความหมายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เข้าใจอารมณ์ด้านลบ ทำให้เราตื่นขึ้นมาพร้อมกับความคิดในแง่บวก มุมมองในแง่บวกได้

ความฝันมีผลต่อโลกในตอนกลางวันของเรา มันสร้างมุมมองต่อชีวิตของเรา ชี้นำพฤติกรรมของเรา และให้เราเข้าใจความเป็นตัวของเราเอง

ความเป็นตัวตนของเรา ถูกสร้างขึ้นจากความคิดเราเอง เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเจอเหตุการณ์ และเรามีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่กระทบกับอารมณ์ของเรา มันจะไปเสริมโครงสร้างทางความคิดเดิม หรือมันอาจจะไปท้าทายกรอบโครงสร้างความคิดเก่า นั่นคือเราจะเปลี่ยนแปลงตัวตนของเราไป ผ่านขั้นตอนของการจัดการกับอารมณ์ในความฝัน

สมองเราประมวลผลข้อมูลแตกต่างกันในตอนตื่นและตอนหลับ สิ่งที่เราพบในความฝันจะต่างกับที่เจอในชีวิตจริง นั่นเพราะสมองเราประมวลผลข้อมูลและความทรงจำแตกต่างกัน

ในช่วงที่เราตื่น สมองเราได้รับสัญญาณและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมโดยอัตโนมัติ เหตุผลที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ถ้าเราต้องคิด ต้องตัดสินใจทุกครั้ง ถึงแม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานหรือเรื่องง่ายๆ เราจะใช้พลังงานเกินความจำเป็น และจะเกิดความเครียดมากขึ้น มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ดังนั้นในระหว่างที่เราตื่น เราจำเป็นต้องอาศัยจิตใต้สำนึกทำงาน เพื่อให้เรามีสมาธิและใช้พลังงานไปกับสิ่งสำคัญมากกว่า

แต่ในตอนที่เราหลับ สมองเราจะประมวลผลข้อมูลในปริมาณน้อยกว่า ทำให้เราจัดการกับอารมณ์ โดยมุ่งไปยังเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นและปล่อยที่เหลือทิ้งไป

มีใครบ้างที่ไม่เคยฝัน
ความฝันเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เรามักจะฝัน 4-6 ครั้งในแต่ละคืน ดังนั้นคำถามจึงไม่ใช่ว่า เราฝันหรือเปล่า แต่เป็น เราจำความฝันได้หรือเปล่า

ความสามารถในการจำความฝันเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนแตกต่างกัน รวมถึงระยะเวลาที่เราหลับด้วย ครึ่งหนึ่งของความฝันเรามักจะลืมมันไปในช่วง 5 นาทีหลังจากที่เราตื่นนอน และเกือบๆ 90% ของความทรงจำเกี่ยวกับความฝันจะหายไปหลังจาก 10 นาที และความทรงจำเ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น