วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562

คณิตศาสตร์สู่ตลาดแรงงานไทย

   เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า ยุค 4.0 ข้อมูลสำคัญอย่างหนี่งที่ทุกคนควรรับรู้ก็คือ ในขณะที่อนาคตประเทศของเรากำลังจะขับเคลื่อนไปด้วยนวัตกรรม อุตสาหกรรม ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือยุคของเกษตรกรรม นั่นหมายความว่า ในอดีตที่เป็นยุคเกษตรกรรม เราคงไม่ขาดแคลนแรงงาน เพราะประชาชนคนไทยส่วนใหญ่เติบโตและประกอบอาชีพมากับวิถีทางการเกษตรอย่างที่เราทราบกันดี แต่ในอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นนวัตกรรม อุตสาหกรรม เรากลับพบว่า แรงงานที่ยังขาดแคลนอยู่ คือ แรงงานสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรืออยู่ในกลุ่ม STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) เช่ารถ
9088 1
ภาพ การทำงานแต่ละอย่างล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ที่มา https://pixabay.com , ArtsyBee
    ในบทความนี้อยากสะท้อนให้เห็นเพียงหนึ่งใน 4 ของวิชาหลัก คือวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานของวิชาที่เหลือ นั่นทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า คณิตศาสตร์เป็นกลไกหรือปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่จะทำให้ตลาดแรงงานไทย มีแรงงานที่มีพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญกับวิชานี้ ถึงแม้ว่าเราจะโตเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานแล้วก็ตาม สำหรับเด็กการเตรียมความพร้อมความรู้พื้นฐานในด้านดังกล่าว ก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ชีวิตการทำงานในอนาคตได้ คำแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ คือควรมุ่งหางานสำคัญที่กำลังทำอยู่และเกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี มาเป็นแรงผลักดันในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อไป
    แน่นอนยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หากเราประกอบอาชีพค้าขาย เราก็คงต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย บัญชีคลังสินค้า ซึ่งก็ต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างแน่นอน  สิ่งที่เราควรทำคือ การหาความรู้เกี่ยวกับหลักการคำนวนที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเฉพาะทางอย่างลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณราคา ต้นทุน กำไร เปอร์เซ็นต์ ภาษี เป็นต้น และควรเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่นการเรียนรู้ทักษะการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปที่เป็นลักษระตารางคำนวณมาช่วย (Microsoft Excel) ในการบันทึกจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลนั่นเอง
     นี่คือตัวอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นว่า คณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างมากที่จะพัฒนาตลาดแรงงานไทย ในงานด้านการตลาดดิจิทัล ไอที บัญชี และวิศวกรรม ที่เน้นการเรียนด้านคำนวณ การคิดวิเคราะห์เป็นหลัก และที่สำคัญมากที่สุดในยุค 4.0  คือแรงงานอุตสาหกรรมการผลิต อย่างกลุ่มของกลุ่ม Original equipment manufacturer (OEM) และ Assembly Industries, กลุ่ม Resource-based industries และธุรกิจบริการก่อสร้าง และค้าปลีก
    ทั้งนี้แรงงานสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ขาดแคลนแล้ว ก็ยังขาดแรงงานด้านภาษาอังกฤษ และความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย การปรับตัวโครงสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศ ที่อยากฝากผู้อ่านให้ร่วมด้วยช่วยกันผลักดันให้ประสบผลสำเร็จ
แหล่งที่มา
SARA BAD. อนาคตตลาดแรงงานไทย ในยุค 4.0.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561. จาก www.ispacethailand.org/สังคม/16446.html
ธนาคารแห่งประเทศไทย. ตลาดแรงงานไทย ค่าจ้าง และนัยต่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาค. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561. จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/DocumentEconomicSeminar/ThaiLabour_23Mar12.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น